TTMIK ระดับ 2 ระดับ1 บทที่ 2
ในบทนี้ เราจะมาเรียนเรื่องคำบ่งชี้กรรม อย่างที่เคยได้พูดไปแล้วในบทก่อน ๆ ว่า มีคำบ่งชี้อยู่มากมายในภาษาเกาหลี เช่น คำบ่งชี้ประธาน คำบ่งชี้หัวข้อ คำบ่งชี้สถานที่ ฯลฯ คำเหล่านี้ทำให้เราเข้าใจประโยคภาษาเกาหลีได้ง่ายขึ้นแม้ว่าจะมีการสลับตำแหน่งของการเรียงรูปประโยคก็ตาม
อย่างไรก็ดี หลายๆ ครั้งเวลาที่ความหมายของประโยคนั้น ๆ ค่อนข้างชัดเจนโดยไม่ต้องใช้คำบ่งชี้ คนเกาหลีก็มักจะละคำบ่งชี้เหล่านั้น ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการออกเสียงและเป็นการกระชับประโยคให้สั้นลง
เราได้เรียนรู้คำกริยาต่างๆ กันไปบ้างแล้ว คำกริยาสามารถแบ่งได้เป็น สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องการกรรม และ อกรรมกริยา คือ กริยาที่ไม่จำเป็นต้องมีกรรม ลักษณะของกริยาทั้งสองแบบนี้ค่อนข้างเห็นชัดในภาษาอังกฤษ เช่นเวลาเราพูดว่า Did you find your wallet? / Yes, I found it เรายังไม่ละคำที่เอ่ยถึง wallet ในที่นี้คือ it ออกไป
แต่ว่าในภาษาเกาหลี บทสนทนาที่คล้ายๆ กับประโยคข้างต้น “지갑 찾았어요? (แปลตรงตัวว่า กระเป๋าสตางค์ เจอไหม / 네. 찾았어요. (แปลตรงตัวว่า ใช่ เจอ) ดังนั้น ความแตกต่างของสกรรมกริยา และอกรรมกริยาในภาษาเกาหลี จึงไม่ค่อยชัดเจนเหมือนในภาษาอังกฤษ (หรือ ภาษาอื่นๆ)
ดังนั้น คำบ่งชี้กรรมจึงเข้ามามีบทบาท
Contents
คำบ่งชี้กรรม
- 을 [eul] - ตามหลังคำนามที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ
- 를 [reul] - ตามหลังคำนามที่ลงท้ายด้วยสระ
คำบ่งชี้กรรมมีไว้ทำอะไร
ในภาษาอังกฤษ เวลาเราพูดว่า "an apple" และไม่ได้เอ่ยถึงคำกริยา เราจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าคำคำนี้มีหน้าที่อะไรในประโยค
แต่ในภาษาเกาหลี ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้เอ่ยถึงคำกริยา เพียงแค่ใส่คำบ่งชี้ที่ถูกต้องตามหลังคำนาม เราก็จะรู้ได้ทันทีว่าคำนามนั้นมีหน้าที่อะไรก่อนที่เราจะเอ่ยถึงคำกริยานั้นๆ เสียอีก
“An apple” - ในภาษาอังกฤษ เป็นคำกลางๆ
“사과” - ในภาษาเกาหลี ก็เป็นคำกลางๆ เช่นกัน
“사과를” - แม้ว่าเราจะยีงไม่ได้เอ่ยถึงคำกริยา เราก็รู้ได้โดยทันทีว่า 사과 จะทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
ดังนั้นเราจึงสามารถเดาคำกริยาที่จะใช้คู่กับคำนี้ได้ในระดับหนึ่ง เช่น ซื้อแอปเปิ้ล ขายแอปเปิ้ล กินแอปเปิ้ล หาแอปเปิ้ล ขว้างแอปเปิ้ล วาดแอปเปิ้ล ฯลฯ
“ 사과가” - เราก็รู้ว่า 사과 จะทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค
เราก็จะสามารถเดาคำกริยาได้เช่นกัน เช่น แอปเปิ้ลนี้ดี ไม่ดี แพง ใหญ่ เล็ก ดีต่อสุขภาพ ฯลฯ
“ 사과는” - เราก็รู้ได้ทันทีว่าผู้พูดต้องการพูดเกี่ยวกับ 사과 โดยเทียบกับสิ่งอื่นๆ หรือ เป็นการเอ่ยถึง 사과 เป็นครั้งแรก
จะละคำบ่งชี้กรรมอย่างไร
ถ้าเราต้องการจะแปลประโยคว่า "เมื่อวานเธอทำอะไร" แบบตรงตัวเป็นภาษาเกาหลี เราจะได้ประโยคที่ไม่เป็นธรรมชาติ
= “어제 <ชื่อคน> 씨는 뭐를 했어요?”
ดังนั้น เราไม่ต้องเอ่ยถึงบุคคลที่สาม ก็จะกลายเป็น
= “어제 뭐를 했어요?”
ชัดเจนว่า "뭐" (อะไร) ไม่ใช่ประธานของประโยค (คนเป็นคนกระทำอะไร ไม่ใช่ในทางกลับกัน) ดังนั้น เราสามารถละ 를 ได้
= “어제 뭐 했어요?
เราจะใช้คำบ่งชี้กรรมเมื่อไหร่
เราต้องใช้เมื่อต้องการทำให้ความสัมพันธ์ของกรรมและกริยานั้นชัดเจน เวลาที่กรรมและกริยาอยู่ใกล้กัน ง่ายมากที่เราจะเติมหรือไม่เติมคำบ่งชี้ก็ได้ เพราะไม่ได้ก่อให้เกิดความแตกต่างมากนัก แต่เมื่อใดก็ตามที่กรรมอยู่ไกลจากกริยา ความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวเนื่องของคำสองคำมีน้อย เราจึงจำเป็นต้องใส่คำบ่งชี้เพื่อให้ความหมายชัดเจนขึ้น
텔레비전 봐요. = ฉันดูทีวี
↓
텔레비전 봐요? = เธอดูทีวีเหรอ
↓
텔레비전 자주 봐요? = Do you watch TV often?
↓
텔레비전(을) 일주일에 몇 번 봐요? = เธอดูทีวีกี่ครั้งต่อสัปดาห์
กรรมของประโยค (텔레비전) อยู่ห่างจากกริยา (봐요) เราจึงจำเป็นต้องทำให้ความสัมพันธ์ของคำทั้งสองชัดเจนโดยการใส่คำช่งชี้กรรม