TTMIK ระดับ 2 ระดับ1 บทที่ 20
บทนี้ เราจะมาเรียนกันว่าจะพูดว่า "ต้อง" หรือ "ควร" ในภาษาเกาหลีอย่างไร
โครงสร้างประโยคนั้นค่อนข้างง่าย เราแค่ตัดเอาเฉพาะคำกริยาต้นและเติมส่วนท้ายเข้าไป
ควร ต้อง จำเป็นต้อง
= คำกริยาต้น + -아/어/여 + -야 되다/하다
ตัวอย่าง
자다 [ ja-da] = นอน
자 + -아/어/여 + -야 되다/하다
--> 자 + “-아” + -야 되다/하다 (เราเลือก “-아” เพราะ 자 ลงท้ายด้วยเสียงอา “ㅏ”)
--> 자야 되다/하다 (เราละ -아 เพราะเสียงเหมือนกับ “ㅏ”)
--> 자야 되다 และ 자야 하다 ใช้ได้เหมือนกัน
쓰다 [sseu-da] = ใช้ เขียน
쓰 + -아/어/여 + -야 되다/하다
--> 쓰 + “-어” + -야 되다/하다 (เราเลือก “-어” เพราะ 쓰 ไม่ได้สงท้ายด้วย “ㅏ” หรือ “ㅗ”)
--> 써야 되다/하다 (쓰 + 어 จะเปลี่ยนเสียงเป็น ‘써’)
--> 써야 되다 และ 써야 하다 ใช้ได้เหมือนกัน
ดังนั้นโครงสร้างหลักๆ คือ:
1. คำกริยาต้นที่ลงท้ายด้วยเสียง ‘ㅏ’ หรือ‘ ㅗ’ + -아야 되다/하다
2. คำกริยาต้นที่ลงท้ายด้วยเสียงอื่นนอกจากนี้ + -어야 되다/하다
3. 하 + -여야 되다/하다
แต่ว่าความสำคัญอยู่ที่เราต้องเข้าใจว่าทำไม -아/어/여야 되다/하다 หมายถึง "ต้อง" หรือ "ควร"
การจะเข้าใจเรื่องนี้ เราลองมาดูโครงสร้างในสองส่วน
1. -아/어/여 + -야
ส่วนนี้หมายถึง "เมื่อ____ได้ทำแล้วเท่านั้น" หรือ "เมื่อเธอได้ทำ____แล้วเท่านั้น"
2. 되다 หรือ 하다
되다 หมายถึง "ได้ถูกทำ" หรือ "เป็นไปได้" และ 하다 หมายถึงการทำบางอย่าง
ดังนั้นถ้าเราจับเอาส่วนที่ หนึ่ง และ สองมารวมกันก็จะได้ความหมายว่า "เมื่อเราได้ทำ___เท่านั้น ถึงจะดี" หรือ "เมื่อ___ได้ถูกทำแล้วเท่านั้นถึงจะโอเค" ดังนั้น -아/어/여야 되다/하다 จึงให้ความหมายว่า "ต้อง" หรือ "ควร"
อะไรคือความแตกต่างระหว่าง 하다 และ 되다?
- ความแตกต่างเพียงอย่างเดียวคือ 되다 ใช้ในบทสนทนาประจำว้นมากกว่า
ตัวอย่างประโยค
1. 집에 가야 돼요. [ ji-be ga-ya dwae-yo.] = ฉันต้องกลับบ้าน
2. 저는 뭐 해야 돼요? [ jeo-neun mwo hae-ya dwae-yo?] = ฉันควรต้องทำอะไร
3. 언제까지 여기에 있어야 돼요? [eon-je-kka-ji yeo-gi-e i-sseo-ya dwae-yo?] = ฉันควรจะมาถึงที่นี่เมื่อไหร่
4. 누구한테 줘야 돼요? [nu-gu-han-te jwo-ya dwae-yo?] = ฉันควรให้สิ่งนี้กับใคร
5. 어디에서 사야 돼요? [eo-di-e-seo sa-ya dwae-yo?] = ฉันควรจะไปซื้อที่ไหน