TTMIK ระดับ 2 ระดับ1 บทที่ 6
ในบทนี้ เราจะมาเรียนคำเชื่อมอีกสองคำที่เราสามารถใช้ขึ้นต้นประโยคได้ สองคำนี้คือ "แต่" และ "อย่างไรก็ตาม"
그렇지만 [geu-reo-chi-man] = แต่ อย่างไรก็ตาม
그런데 [geu-reon-de] = แต่ อย่างไรก็ตาม
ตัวอย่าง
1. 피곤해요. 그렇지만 영화 보고 싶어요.
[pi-gon-hae-yo. geu-reo-chi-man yeong-hwa bo-go si-peo-yo.]
= ฉันเหนื่อย แต่ฉันก็อยากจะไปดูหนัง
2. 피곤해요. 그런데 영화 보고 싶어요.
[pi-gon-hae-yo. geu-reon-de yeong-hwa bo-go si-peo-yo]
= ฉันเหนื่อย แต่ฉันก็อยากจะไปดูหนัง
- 그렇지만 [geu-reo-chi-man] และ 그런데 [geu-reon-de] ทั้งสองคำหมายถึง "แต่" หรือ "อย่างไรก็ตาม" แต่ว่าก็มีความแตกต่างในการใช้งานสองคำนี้อยู่
ลองดูตัวอย่างข้างล่างนี้
1. 어제 이거 샀어요. 그렇지만 정말 커요.
[eo-je i-geo sa-sseo-yo. geu-reo-chi-man jeong-mal keo-yo.]
= ฉันซื้ออันนี้มาเมื่อวาน. “그렇지만” มันใหญ่มาก
2. 어제 이거 샀어요. 그런데 정말 커요.
[eo-je i-geo sa-sseo-yo. geu-reon-de jeong-mal keo-yo.]
= ฉันซื้ออันนี้มาเมื่อวาน. “그런데” มันใหญ่มาก
ในประโยคที่หนี่ง 그랗지만 หมายถึง "แต่" หรือ "อย่างไรก็ตาม" ดังนั้นผู้พูดกำลังแสดงความขัดแย้งของสองสิ่ง
"ซื้ออันนี้มาเมื่อวาน" และ "ตอนนี้มันใหญ่เกินไป" ดังนั้นผู้พูดดูเหมือนจะรู้สึกผิดหวังที่มันใหญ่เกินไป
ในประโยคที่สอง 그런데 หมายถึง "แต่" แต่ว่าในขณะเดียวกันก็สามารถหมายถึง "และ" ได้เช่นกัน ถ้าเกิดว่าผู้พูดกำลังหมายถึงว่า "และ" ทั้งประโยคจะสามารถหมายถึง "ฉันซื้ออันนี้มาเมื่อวาน" และ "มันใหญ่มาก" หรือ "ฉันซื้ออันนี้มาเมื่อวานและฉันเพิ่งรู้สึกว่ามันใหญ่มาก"
โดยสรุป
- 그렇지만 = แต่
- 그런데 = "แต่" หรือ "และ" ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
ถ้าเราต้องการจะแสดงความขัดแย้งของสองประโยค "ก แต่ ข" เราสามารถเลือกใช้ได้ทั้ง 그렇지만 และ 그런데
ถ้าเราต้องการแสดงว่าการกระทำสองอย่างเกิดขึ้นสืบเนื่องกัน ประโยคแรกเป็นข้อมูลให้กับประโยคที่สอง เราจะใช้แต่คำว่า 그런데
어제 학교에 갔어요. 그렇지만 일요일이었어요.
[eo-je hak-gyo-e ga-sseo-yo. geu-reo-chi-man i-ryo-il-i-eo-sseo-yo.]
= เมื่อวานฉันไปโรงเรียนมาแต่ทว่ามันเป็นวันอาทิตย์
어제 학교에 갔어요. 그런데 일요일이었어요.
[eo-je hak-gyo-e ga-sseo-yo. geu-reon-de i-ryo-il-i-eo-sseo-yo.]
= เมื่อวานฉันไปโรงเรียนมาแต่ทว่ามันเป็นวันอาทิตย์
= เมื่อวานฉันไปโรงเรียนมาแม้ว่าจะเป็นวันอาทิตย์
= เมื่อวานฉันไปโรงเรียนมา แต่พอไปถึงโรงเรียนฉันถึงรู้ว่าเป็นวันอาทิตย์
เราจะเห็นได้ว่า 그런데 สามารถใช้ได้หลากหลายความหมาย นอกจากนี้ 그렇지만 ยังให้ความรู้สึกเป็นทางการมากกว่า ดังนั้นในการสนทนาประจำวัน 그런데 จะถูกใช้มากกว่า ส่วน 그렇지만 มักจะใช้ในภาษาเขียน
ตัวอย่างจากเพื่อน ๆ ของเรา
경미: 어제 과음했어요. 그런데 말짱해요.
[eo-je gwa-eum-hae-sseo-yo. geu-reon-de mal-jjang-hae-yo.]
과음하다 [gwa-eum-ha-da] = ดื่มมากเกินไป
말짱하다 [mal-jjang-ha-da] = 멀쩡하다 [meol-jjeong-ha-da] = รู้สึกโอเคมาก ๆ
= ฉันดื่มมากเกินไปเมื่อวานแต่ฉันรู้สึกโอเคแล้วตอนนี้
미경: 어제 밤 늦게 잤어요. 그런데 전혀 피곤하지 않아요.
[eo-je bam neut-ge ja-sseo-yo. geu-reon-de jeon-hyeo pi-gon-ha-ji a-na-yo.]
늦게 [neut-ge] = สาย ดึก
전혀 [ jeon-hyeo] = ไม่เลย
피곤하다 [pi-gon-ha-da] = รู้สึกเหนื่อย
= เมื่อคืนฉันนอนดึกมากแต่ฉันก็ไม่รู้สึกเหนื่อยเลย
미경: 저는 매일 운동을 해요. 그런데 살이 빠지지 않아요.
[ jeo-neun mae-il un-dong-eul hae-yo. geu-reon-de sa-ri ppa-ji-ji a-na-yo.]
매일 [mae-il] = ทุกวัน
살이 빠지다 [sa-ri ppa-ji-da] = ลดน้ำหนัก
= ฉันออกกำลังกายทุกวันแต่น้ำหนักก็ไม่ลดเลย
효성: 어제까지는 친구였어요. 그런데 오늘부터는 애인이에요.
[eo-je-kka-ji-neun chin-gu-yeo-sseo-yo. geu-reon-de o-neul-bu-teo-neun ae-in-i-e-yo.]
애인 [ae-in] = คนรัก แฟน
= กระทั่งเมื่อวานเราจะเป็นเพื่อนกันอยู่ แต่วันนี้ เรากลายเป็นคนรักกันแล้ว
효성: 저는 친구가 없어요. 그런데 왕따는 아니에요.
[ jeo-neun chin-gu-ga eop-seo-yo. geu-reon-de wang-tta-neun a-ni-e-yo.]
왕따 [wang-tta] = คนเดียวดาย คนที่ถูกทอดทิ้ง
= ฉันไม่มีเพื่อนแต่ฉันก็ไม่เดียวดาย